fbpx

3 ปัจจัยสำคัญของการทำ Rebalancing Portfolio

3 ปัจจัยสำคัญของการทำ Rebalancing Portfolio

3-rebalancing-factors

Table of Contents

“แย่แล้วตลาดลงรีบเทขายดีกว่า” “อ้าวทำไมขายแล้วมันขึ้นเฉย”
“น่าจะขาขึ้นแล้วมั้งช้อนดีกว่า “อ้าวโดนหลอกอีกแล้วลงเฉย”

 

เชื่อว่าเทรดเดอร์ทุกคนน่าจะเคยผ่านประสบการณ์แบบนี้กันมาบ้างแล้ว กับการซื้อแพงขายถูก ยิ่งเล่นเงินในพอร์ตยิ่งลดลง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติมาก เพราะการเทรดด้วยตัวเองนั้นมักมีอารมณ์ของเราเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่นพอราคาลงเราก็รู้สึกกลัวจนเทขาย หรือตอนราคาขึ้นเรามักจะคิดว่ามันขึ้นต่อ ทำให้การเทรดของเราไม่เป็นระบบระเบียบขึ้นอยู่กับอารมณ์เป็นหลัก

 

ซึ่งการจัดการความเสี่ยงนั้นสามารถทำได้ถ้าหากเราเข้าใจหลักการเล็กน้อย และเป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจเอาไว้หากว่ายังคงมีความต้องการที่จะอยู่ในวงการเทรดคริปโตต่อไป

 

การทำ Rebalancing หรือการปรับสมดุลพอร์ตโฟลิโอนั้นคือกลยุทธ์ที่ไม่ยุ่งยากเกินความเข้าใจแต่มีวิธีการใช้งานเพื่อปรับให้เหมาะสมได้จึงต้องใช้ความเข้าใจและความสามารถรับต่อความเสี่ยงนั้น ๆ ได้ขอบแต่ละบุคคลนั้นต่างออกไป เพราะการ Rebalancing จะทำการซื้อ หรือขายให้เองอัตโนมัติเมื่อตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อให้พอร์ตของเรากลับมาสมดุล เช่น ปรับพอร์ตตามเวลา หรือปรับตามอัตราส่วนมูลค่าที่เปลี่ยนไป วิธีนี้นอกจากจะเป็นการจัดการความเสี่ยงที่ดีแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลาในการเทรดให้กับนักลงทุนได้อีกด้วย ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะมาก ๆ กับนักลงทุนที่อยากถือยาว หรือ Value Investment

การ Rebalancing ดียังไงกับพอร์ตของคุณ?

สิ่งสำคัญแรกคือต้องเข้าใจถึงประเภทของการทำ Rebalancing ที่เหมาะสมกับคุณก่อน

 

โดยการทำ Rebalancing จะมีด้วยกันหลัก ๆ อยู่สองประเภทคือ Periodic-based และ Threshold ซึ่งทั้งสองแบบมี action ของการทำการซื้อหรือขายสินทรัพย์เมื่อตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อให้พอร์ตกลับมาสมดุลเช่น ปรับพอร์ตตามเวลา หรือปรับตามอัตราส่วนมูลค่าที่เปลี่ยนไป

Factor 1: “เป็นการจัดการความเสี่ยงไม่ใช่เพราะผลลัพธ์ที่ดีแต่เพื่อการคงสภาพพอร์ตให้อยู่ภายใต้การจัดการที่เจ้าของสามารถรับความเสี่ยงนั้นได้"

มาดูตัวอย่างด้านล่างนี้เพื่อทำความเข้าใจ


โดย Periodic-based เป็นการ Rebalancing ทุก ๆ ช่วงเวลาที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่นเรามี Asset อยู่ 4 เหรียญได้แก่ A B C และ D ในมูลค่าอัตราส่วน 25% เท่า ๆ กันรวมกันเป็น 100% และตั้งให้ Rebalance ทุก ๆ 24 ชั่วโมง

เมื่อเวลาผ่านไปครบ 24 ชั่วโมง มูลค่าของแต่ละ Asset เปลี่ยนไปเป็น A 20% B 30% C 23% และ D 27% สิ่งที่ Rebalancing ทำคือนำ Asset B และ D ไปขาย และนำเงินที่ได้ไปซื้อ Asset A และ C เพื่อให้มูลค่าของทุก Asset กลับมาที่ 25% เท่ากันอีกครั้ง

ในทางกลับกัน Threshold จะเป็นรูปแบบ Rebalancing ตามเปอร์เซ็นของ Asset ที่เปลี่ยนไป หากเรามี Asset อยู่ 4 เหรียญได้แก่ A B C และ D ในมูลค่าอัตราส่วน 25% เท่า ๆ กันรวมกันเป็น 100% และตั้งให้ Rebalance ตาม Threshold +-5%

การใช้วิธี Threshold จะเป็นตัวบอกว่าเท่าไหร่ ถึงจะเป็นว่าควรทำ Rebalance และไม่ใช้เงื่อนไขด้านเวลาว่าเมื่อไหร่อย่างเช่นตัวอย่างแรกของ Periodic-based

การ Rebalancing Portfolio สามารถเอาชนะตลาดได้อย่างไร

เมื่อคุณเริ่มสร้างพอร์ตในการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล คุณควรที่จะมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการกับสินทรัพย์เหล่านี้ รวมถึงหลักการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนในหมวดหมู่หรือ Asset Allocation ที่ประกอบด้วย Governance Token Altcoin Stable Coin เป็นต้น

 

นอกจากนี้การถือครองสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายในมุมของ ความเสี่ยง รูปแบบการลงทุน และลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน คือ Diversification ของพอร์ตจะช่วยยกระดับไม่ให้ขาดทุนในทุกตัวที่ถืออยู่

 

ยกตัวอย่างเช่น BTC หรือ Bitcoin เป็นสินทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับเหมือนเป็นเสาหลักของตลาดคริปโต เสี่ยงปานกลาง หรืออย่าง Doge Coin เป็นสินทรัพย์ที่ผันผวนตามกระแสของตลาดค่อนข้างมาก ความเสี่ยงที่ตามมาก็สูงมากเช่นกัน

ภาพถัดไปด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างสถานการณ์ของการใช้งานในรีพอร์ต Rebalancing Portfolio เรียบเรียงโดย Michael McCarty – ผู้ก่อตั้ง Shrimpy

นี่เป็นหนึงในตัวอย่างของการจัดพอร์ตรูปแบบการกระจายให้สินทรัพย์มีปริมาณเท่า ๆ กันและใช้หลักการทำ Rebalancing จาก 1 ชั่วโมง 1 วัน 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน เปรียบกับการ Hold ไว้เฉย ๆ แสดงผลให้เห็นผลตอบแทนจากการถือไว้ HODL ที่ $40K และ Rebalance ทุก 1 ชั่วโมงผลตอบแทนที่ $123K (ทุนเริ่มต้น $5,000 ระยะเวลา 1 ปี)

สถานการณ์ที่พบได้บ่อยในการทำ Rebalance

⦿ Sideway Movement – สถานการณ์ช่วง Sideway เป็นช่วงที่กินระยะเวลานานที่สุด โดยในช่วงเวลานี้ราคามักมีความผันผวนน้อย และราคาค่อนข้างคงที่ หรือเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ

⦿  Pump and Dump  – Pump and Dump – สถานการณ์ช่วง Pump and Dump เป็นช่วงที่มีการเพิ่มขึ้นของราคาอย่างรวดเร็ว และไม่นานราคาก็ลดลงมากลับมาอยู่จุดเดิม หรือการปั่นราคาเพื่อทุบนั่นเอง

pump & dump opportunity

⦿ Flash Crash and Recover – สถานการณ์ช่วง Flash Crash and Recover เป็นช่วงที่ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว และไม่นานราคาก็กลับขึ้นไปที่จุดเดิม หรือหลุมนั่นเอง

การคาดเดาและหลักความจริงที่สามารถรับมือได้

เราไม่สามารถกำหนดระยะเวลาหรือคาดเดาให้ราคาของแต่ละเหรียญขึ้นหรือลงตามความคิดได้ แต่เราสามารถตั้งรับกับสถานการณ์เพื่อลดระดับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ให้เป็นโอกาสในการเทรด

 

หากนึกไม่ออกว่าสถานการณ์มาในรูปแบบไหน ตัวอย่างที่ใกล้ตัวมากที่พบได้บ่อยที่สุดคือเมื่อคุณไม่รู้ว่าจะหยุดเพื่อทำกำไรเมื่อไหร่นั่นเอง (Stop loss and profit)

 

การชนะตลาดคือการที่เราสามารถสร้างผลกำไรได้ไม่ว่าจะเป็นตลาด คริปโต ฟอเร็กซ์ หรือ หุ้นได้ เป็นที่เข้าใจกันดีว่าเป็นเรื่องยากหากไม่ได้ศึกษาวิธีการหรือกลยุทธ์ที่ใช้งานได้จริง

Factor 2: จึงเป็นที่มาของการปรับสมดุลพอร์ตโฟลิโอโดยการขายกำไรเพื่อซื้อคืนสิ่งที่ขาดทุนภายในพอร์ตหรือก็คือการจัดพอร์ตนั่นเอง  

นักลงทุนส่วนมากอาจมองหาวิธีการชนะตลาดช่องทางอื่นเช่นการทำกำไรในปริมาณมาก ๆ สำหรับสินทรัพย์เดี่ยวเป็นต้น

 

พอร์ตโฟลิโอที่มีความหลากหลายสูงจะนำไปสู่ผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่าพอร์ตโฟลิโอแบบเดี่ยวหากใช้การปรับสมดุลนี้ ดังนั้นสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ไม่ได้รับความนิยมก็สามารถสร้างสมดุลให้กับพอร์ตได้เช่นกัน

Factor 3: จากข้างต้นที่กล่าวมานั้น การเตรียมตัวและการใช้กลยุทธ์เพียงเล็กน้อยจะช่วยในการสร้างพอร์ตโฟลิโอที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของคุณ

และยังเตรียมความพร้อมสำหรับการรับความเสี่ยงต่อสภาพตลาดที่มีความผันผวนได้ดียิ่งขึ้น

ส่งท้าย

1. การจัดการความเสี่ยง

2. โอกาสในการชนะตลาด

3. การกระจ่ายความเสี่ยงเพื่อรองรับสถานการณ์ความผันผวน

เป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ Rebalancing Strategy เพื่อการเทรดคริปโตที่เห็นผลและมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น

Thank you for your interest to invest with Definix!
Check out these channels for the latest update from SIX Network.

Stay tuned with us on these channels.

Napathsorn Unchit
Napathsorn Unchit

Passionate about financial world and is an inverstor too! Giving out news update and blog post every month.
Visit us at SIX Network for more.

Related Posts

Yield Farming 101 : คู่มือเริ่มต้นการทำฟาร์มบนแพลตฟอร์ม DeFi

กฎในการปฏิบัติตามง่ายๆเพื่อจัดการความเสี่ยงในโลกของ Crypto

DeFi

Table of Contents

DeFi กับ Cryptocurrency ต่างกันยังไง?

ถ้าเปรียบเทียบง่าย ๆ  Cryptocurrency ก็เหมือนกับสกุลเงินต่าง ๆ ในโลกจริง เช่น บาท วอน ดอลล่า
ส่วน DeFi ก็จะเหมือนกับธนาคาร หรือสภาบันการเงินต่าง ๆ ที่ให้บริการทั้ง กู้-ยืม ฝาก-ถอนเงิน และแลกเปลี่ยนเงินแต่ละสกุลกัน แต่ต่างกันตรงที่ DeFi ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง ไม่ต้องเปิดสาขา ทุกอย่างอย่างอัตโนมัติด้วยโค้ดที่เขียนไว้ 

 

DeFi คืออะไร?
DeFi หรือ Decentralize Finance คือระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ ซึ่งเป็นระบบการเงินรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีตัวกลางมาควบคุมเหมือนกับระบบธนาคาร โดยทุกอย่างที่ run บน DeFi เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด โดยใช้โค้ด Smart contract ที่อยู่บน Blockchain ในการควบคุมการทำงาน
.
ซึ่งนี่ทำให้แพลตฟอร์มที่เป็น Decentralize Finance ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปิดสาขา รวมทั้งจ้างพนักงานมาเพื่อดำเนินกิจการด้วย ดังนั้นด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า Centralize Finance อย่างธนาคารมาก ๆ จึงทำให้ผลตอบแทนจากการฝากเงินไว้กับ DeFi สูงกว่านั่นเอง

กำเนิด Decentralize Finance (DeFi)
ต้องย้อนกลับไปในยุคหลังจาก Satoshi Nakamoto สร้าง Bitcoin ขึ้นมา
.
ในปี 2013 ได้มีเด็กหนุ่มอัจฉริยะชาวรัสเซีย ชื่อว่า Vitalik Buterin ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่พัฒนา Bitcoin ได้แยกตัวออกมาเพื่อพัฒนาคริปโตและระบบ Blockchain และได้ตั้งชื่อว่า Ethereum
.
โดยจุดเด่นของ Ethereum ที่ทำให้ต่างจาก Bitcoin อย่างชัดเจนก็คือ Ethereum มาพร้อมกับ Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะ ที่สามารถเขียนเงื่อนไขลงไปในสัญญา ถ้าทำตามสัญญาได้ครบเงื่อนไขก็ได้บางอย่างตามเงื่อนไขเป็นการตอบแทน ซึ่งระบบ Smart Contract นี้สามารถเอาไปต่อยอดได้หลากหลายมาก เช่นการซื้อสินค้าออนไลน์ การกู้ยืมเงิน การแลกเปลี่ยนคริปโต เป็นต้น
.
โดย Ethereum ก็ได้เปิดให้นักพัฒนาทุกคนสามารถนำระบบ Smart Contract นี้ไปใช้ได้ฟรี ๆ โดยสามารถสร้างอะไรก็ได้บน Ethereum Chain ซึ่งในตอนแรกก็ยังไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากนักพัฒนาหลาย ๆ คนยังไม่ทราบว่าจะนำไปใช้ในด้านไหนได้บ้าง แต่พอเริ่มมีคนทำสำเร็จ ก็เริ่มมีคนทำตามมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยของ DApp หรือ Decentralize Application นั่นเอง
.
โดยแพลตฟอร์ม DeFi แรกที่เกิดขึ้นมาบน Ethereum chain และประสบความสำเร็จมาก ๆ จนเป็นต้นแบบให้เกิดหลาย ๆ DeFi ในปัจจุบันก็คือ Compound DeFi ประเภท Lending ที่ให้บริการกู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัล คล้าย ๆ กับระบบธนาคารในโลกจริง
.
Compound จะเปิดให้ใครก็ตามสามารถนำเหรียญมาฝากไว้กับแพลตฟอร์มได้ และจะจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นเปอร์เซ็นตามจำนวนที่นำไปฝาก โดย Compound จะเอาเงินที่ฝากมากองรวมกันไว้ใน pool และเมื่อมีคนมากู้ก็จะดึงเงินในกองนั้นออกไป แต่จะมีดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสูงกว่าผู้ที่นำเหรียญมาฝาก ซึ่งผลตอบแทนที่ได้จากการฝากจะอยู่ที่ 10 – 100% ต่อปี ซึ่งอาจจะไม่ได้สูงมากนัก แต่ก็คุ้มกว่าฝากในธนาคารอยู่ดี

กำเนิด Yield Farming

เมื่อ Compound ประสบความสำเร็จทำให้เกิดแพลตฟอร์ม DeFi ใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย ดังนั้นเมื่อคู่แข่งมากขึ้น แพลตฟอร์มต่าง ๆ เลย พยายามหาวิธีให้ดึงลูกค้าให้มาใช้แพลตฟอร์มมากที่สุด ดังนั้นบาง DeFi จึงได้ออก Governance Token ที่เป็นเหรียญประจำแพลตฟอร์มขึ้นมา เช่น Comp เหรียญประจำ Compound, AAVE เหรียญประจำ Aave, MKR เหรียญประจำ MakerDao เป็นต้น เพิ่มให้เป็น Reward นอกเหนือจากที่ได้จากการฝากเหรียญด้วย
.
ซึ่ง Governance Token นี้จะเป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ใน Ecosystem ของ DeFi นั้นเอง เช่นการโหวตเเพื่อปรับเปลี่ยน Gas fee เพิ่มคู่เหรียญ หรืออะไรก็ตามในแพลตฟอร์ม ตลอดจนการถือไว้จำนวนหนึ่งเพื่อได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่นลดค่าธรรมเนียม นำไปลุ้นโชคบนแพลตฟอร์ม ซื้อ NFT เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีความต้องการเหรียญมากขึ้น จากเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมาลอย ๆ ไม่ได้มีมูลค่า ก็มีมูลค่ามากขึ้นตามความต้องการด้วย
.
ต่อมาเมื่อ Governance Token ได้รับความนิยมมากขึ้น ก็ได้เกิดแพลตฟอร์ม DeFi ประเภทใหม่ขึ้นมา เรียกว่า Decentralize Exchange หรือ DEX นั่นเอง
.
ซึ่งหลาย ๆ คนน่าจะรู้จักกับ Binance หรือ Bitkub อยู่แล้ว แพลตฟอร์มประเภทนี้เป็น Centralized Exchange(CEX) ที่เปิดให้นักลงทุนสามารถตั้งราคาเพื่อเทรดเหรียญกันได้ผ่านแพลตฟอร์ม แต่ Decentralized Exchange จะไม่สามารถตั้งราคาเพื่อซื้อขายได้เหมือน CEX แต่จะใช้ระบบ AMM ในการคำนวณราคาแทน
.
แน่นอนว่าการเป็น Decentralized Exchange จะต้องมีเหรียญที่อยู่ในแพลตฟอร์มมากพอเพื่อให้เกิดสภาพคล่องที่ดี ดังนั้นแพลตฟอร์มประเภทนี้จึงเปิดให้คนนำเหรียญมาฝากไว้กับแพลตฟอร์ม และมากองไว้รวมกันเรียกว่า Liquidity Pool ซึ่งผู้ที่นำมาฝากจะได้ LP มา คล้าย ๆ กับตั๋วเราสามารถนำไปแลกกับเป็นเหรียญที่เราฝากไว้ได้ตลอดเวลา โดยเราสามารถนำตั๋ว LP นั้นไปลองในฟาร์มเพื่อรับผลตอบแทนเป็น Governance Token ของ DEX นั้นได้ ซึ่งสิ่งนี้เองมีชื่อเรียกว่า Yield Farming 

 

เลือกฟาร์มยังไงให้ปลอดภัย 


1.มี Audit จากบริษัทที่น่าเชื่อถือ เช่น Certik 

2.ทีมพัฒนาและเจ้าของโปรเจค มีตัวตนอยู่จริง และเป็นคนมีชื่อเสียง หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการเงินการลงทุน

3.TVL สูงกว่า 50 ล้านดอลล่า

4.ระยะเวลาในการเปิดควรมากกว่า 3 เดือนและยิ่งไม่เคยมีประวัติโดนแฮ็กยิ่งดี

5.มีแผน Road map ชัดเจน อ่านแล้วมองภาพในอนาคตออก

6.มีนักลงทุน/บริษัทใหญ่ ๆ สนับสนุนแพลตฟอร์ม

7.เหรียญประจำแพลตฟอร์มสามารถ list บนเว็บเทรดดัง ๆ ได้ เช่น Binance Coinbase

8.มีการตรวจสอบโค้ด Smart contract 24 ชม. เช่น Certik Skynet

9.เหรียญ Governance เป็นเหรียญที่มีอยู่ใน Coinmarketcap หรือ Coingecko ยิ่งมีอันดับด้วยยิ่งดี

10.คอมมูนิตี้ทั้ง Facebook Twitter Telegram ควรมีสมาชิกหรือผู้ติดตามหลักพันขึ้นไป

คู่เหรียญฟาร์ม

 

คู่ Stablecoin : ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาเหรียญและ Impermanant Loss ต่ำ แต่ผลตอบแทนก็ไม่มากเท่าคู่อื่น เช่น USDT-BUSD KUSDT-DAI เป็นต้น โดย APR จะอยู่ประมาณ 10-60%

 

คู่ Stablecoin – Altcoin : โดนความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาแค่เหรียญเดียว แต่ผลตอบแทนดีกว่าคู่ Stablecoin เช่น BTC-BUSD เป็นต้น โดย APR จะอยู่ประมาณ 100-1000% หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับแต่ละฟาร์ม

 

คู่ Altcoin – Altcoin : โดนความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาทั้งสองเหรียญ แต่ผลตอบแทนดีกว่าคู่ Stablecoin เช่น BTC-BNB เป็นต้น โดย APR จะอยู่ประมาณ 100-1000% หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับแต่ละฟาร์ม แนะนำให้เล่นคู่นี้ช่วงตลาดขาขึ้นจะปลอดภัยกว่า

คู่ Governance token : เป็นการนำ Altcoin หรือ Stablecoin มาฟาร์มคู่กับเหรียญประจำ DeFi นั้น ซึ่งแบบนี้จะได้ APR สูงที่สุด แต่มีความเสี่ยงที่เหรียญ Gov จะราคาลงอย่างรวดเร็วอยู่ด้วย



ความเสี่ยงในการทำ Yield Farming

1.Rug Pull
Rug Pull หรือ การดึงพรมเป็นการเปรียบเทียบเหมือนเรายืนอยู่บนพรม แล้วโดนดึงออกทำให้ล้มแบบไม่ได้ตั้งตัวมาก่อน โดยเจ้าของเองเป็นคนเอาเหรียญทั้งหมดที่อยู่บนแพลตฟอร์มไป โดยการเขียน Smart Contract ให้เกิดช่องโหว่ในการ Rug Pull ไว้แต่แรก

2.Exit Scam
Exit Scam คือการที่เจ้าของทิ้งโปรเจค หรือไม่พัฒนาต่อแล้ว อาจจะเพราะปัญหาอะไรบางอย่าง หรือได้ประโยชน์จนพอใจแล้ว เหมือนที่เพิ่งเกิดกับ Merlin ไปล่าสุด โดยการประกาศว่าจะยุติพัฒนาจะทำห้เหรียญ Governance Token ของ DeFi นั้นตกลงอย่างรวดเร็ว ซึ่ง Exit Scam ก็อาจจะมีการ Rug Pull ร่วมด้วยก็ได้

3.โดน Hack
การโดน Hack เป็นการกระทำที่ไม่เกิดจากความตั้งใจของเจ้าของ แต่มีคนข้างนอกแฮ็กโค้ด Smart contract เข้ามาแก้ไขบางอย่างได้ เนื่องจาก Source Code ทุกอย่างบน DeFi นั้นจะต้องเปิดเป็น Public หมด ถ้าโค้ดที่เขียนมีบัค หรือช่องโหว่เพียงเล็กน้อย ก็สามารถโดน Hack ได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น Icecream โดน Hacker สั่งเปลี่ยน Owner เป็นตัวเอง แล้ว mint เหรียญขึ้นมาเพิ่มจำนวนมาก ก่อนนำไปขาย แล้วเก็บเหรียญอื่นโอนออกไป

 

4.มูลค่าเหรียญลดลง
อันนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่หลาย ๆ คนมองข้ามเพราะไปสนใจแต่ APR และ APY จนลืมคิดไปว่าเหรียญที่นำไปฟาร์มมูลค่าลดลงได้ ซึ่งต่างกับการฝากเงินในธนาคาร ที่จำนวนเงินของเราจะไม่ลดลง โดยเฉพาะการลงในคู่เหรียญที่มี APR สูง ๆ เช่น Governance Token ซึ่งมีโอกาสที่จะตกได้สูง ดังนั้นสิ่งที่ฟาร์มมาได้อาจจะไม่คุ้มกับการขาดทุนจากการซื้อ Governance Token ก็ได้ต้องคิดให้ดี

5.Impermanent Loss
Impermanent Loss หรือการขาดทุนกำไรแบบชั่วคราว นั้นเกิดจากการที่เรานำคู่เหรียญสองเหรียญไปลงใน Liquidity Pool และหลังจากนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาขึ้น ระบบ AMM ที่อยู่ในฟาร์มจะทำการ Rebalance คู่นั้นให้กลับมามูลค่าเท่ากันโดยอัตโนมัติ ซึ่งระบบนี้ทำให้มูลค่ารวมของทั้งสองเหรียญน้อยลงกว่าการถือเหรียญไว้เฉย ๆ โดยไม่เอาลงฟาร์ม


6.โดนแฮ็ก Wallet หรือ Seed Phase
ในการเล่น DeFi นั้นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องมีเลยคือ Wallet เช่น Metamask Safepal Kaikas D’cent และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งถ้าเป็น Wallet ที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ก็จะมีความปลอดภัยที่สูงมากอยู่แล้ว แต่บางคนที่โดนแฮ็กนั้นไม่ได้มาจาก wallet ที่ไม่ปลอดภัย แต่มาจากการโดนแฮ็ก Seed phase ต่างหาก หลาย ๆ ชอบเก็บ Seed ไว้ในโซเชียลมีเดียร์บ้าง หรือแคปรูปเก็บไว้ ใส่ไฟล์ไว้ในคอม ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถถูกแฮ็กได้ทั้งนั้น ดังนั้นสิ่งที่ปลอดภัยก็คือการไม่นำ Seed เราไปไว้บนอิเล็กทรอนิกส์ เช่นจดใส่กระดาษแล้วใส่เซฟไว้เป็นต้น

7.Phishing Scam
รูปแบบนี้ไม่ใช่การแฮ็ก แต่เป็นการหลอกเหยื่อให้มาติดกับเอง เช่นการทำ Metamask ปลอมขึ้นมา พอคนนำ Seed Phase มาใส่โจรก็ได้รหัสเราไป นำไปเข้ากระเป๋าจริงบและโอนเหรียญออกไปหมด หรือการหลอกว่าถ้าโอนมาที่ลิงค์นี้จะได้อะไรพิเศษจนคนโอนเหรียญไปให้ Scamer ก็มี

8.โอนผิด
ปัญหาสุดคลาสสิคจาก Human Error ที่หลาย ๆ คนน่าจะเคยเจอ เช่นจะโอนไปที่อีก wallet นึงของเรา แต่ก๊อปปี้ขาดตัวท้ายไปตัวนึง หรือไปก็อป Address เหรียญมาใส่ ซึ่งแน่นอนว่าในโลก Decentralize โอนผิดแล้วไม่สามารถตึงเงินกลับมาได้ ทุกคนต้องดูและเงินตัวเอง ตั้งสติก่อนโอน

DeFi นั้นเปรียบเสมือนกับ Blue ocean น่านน้ำใหม่ที่เต็มไปด้วยโอกาสมากมายให้กับทุก ๆ คนที่ก้าวเข้ามาในที่แห่งนี้ แต่ในโลก Decentralize ถึงแม้จะมีโอกาสทำเงินได้มาก แต่ความเสี่ยงที่มีก็มากขึ้นเช่นกัน ทั้งจากตัวเราเอง และจากปัจจัยภายนอก

ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดจากเราเองสามารถลดได้ถ้าเรามีสติและใส่ใจในความปลอดภัยของ Wallet อย่างสม่ำเสมอ แต่กับปัจจัยภายนอกเช่น ฟาร์มที่เราไปลงทุนปิดหรือโดนแฮ็ก เป็นเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้เลย ดังนั้นการเลือกฟาร์มที่น่าเชื่อถือ และปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ

โดยถ้าพูดถึงความปลอดภัย Definix เองเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความเชื่อมั่น เนื่องจาก Definix เองผ่านการ Audit อย่าง Certik ที่เป็น Auditor ระดับโลก และยังมีการเปิด Certik Skynet ระบบตรวจสอบ Smart contract แบบ 24 ชม. แถมถ้ามีอะไรผิดพลาดเรายังมีเงินประกันจาก Certik Shield ชดเชยให้กับนักลงทุนด้วย ดังนั้นมั่นใจได้เลยว่าเงินที่ลงทุนกับ Definix นั้นจะถูกเก็บไว้อย่างดีแน่นอน

 

Thank you for your interest to invest with Definix!
Check out these channels for the latest update from SIX Network.

Stay tuned with us on these channels.

Napathsorn Unchit
Napathsorn Unchit

Passionate about financial world and is an inverstor too! Giving out news update and blog post every month.
Visit us at SIX Network for more.

Related Posts

กฎในการปฏิบัติตามง่ายๆเพื่อจัดการความเสี่ยงในโลกของ Crypto

กฎในการปฏิบัติตามง่ายๆเพื่อจัดการความเสี่ยงในโลกของ Crypto

risk allocation in fund management

การจัดการความเสี่ยงถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จสำหรับเทรดเดอร์ในทุก ๆ สถานการณ์ของตลาด การสูญเสียเป็นสิ่งที่คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะลงทุนมากหรือน้อยก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตลาดที่มีความผันผวนสูงเป็นอย่างมาก เช่น ตลาดคริปโทเคอร์เรนซี

Table of Contents

เมื่อปีที่ผ่านมา เราเห็นการเติบโตอย่างมหาศาลของตลาดด้วยผลกำไรที่น่าทึ่งจากเหรียญสกุลเงินดิจิทัลหลัก ๆ ส่วนใหญ่ การเงินแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Finance) ดึงดูดความสนในการทำ Yield Farming และการสร้างรายได้แบบ Passive income จากสินทรัพย์คริปโต รวมถึงการช่วยให้ระบบนิเวศทั้งหมดสามารถก้าวข้ามผ่านการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินแบบดั้งเดิมได้

 

หากคริปโทเคอร์เรนซี ยังคงเติบโต ยังคงดึงความน่าสนใจของเหล่าเทรดเดอร์ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือการบริหารความเสี่ยงขั้นสูงที่เพิ่มผลกำไรสูงสุดให้กับนักลงทุน



ทำความรู้จักประเภทของความเสี่ยง:

● Credit Risk

ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบโปรเจคต์ของคริปโตส่วนใหญ่เกิดจากการโจรกรรมและการฉ้อโกงในตลาดคริปโต

 

● Legal Risk

เป็นความเสี่ยงของเหตุการณ์ความน่าจะเป็นเชิงลบที่เกิดขึ้นตามกฎข้อบังคับ เช่น การห้ามใช้(แบน)สกุลเงินดิจิทัลในบางพื้นที่หรือประเทศ

 

● Liquidity Risk

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่เทรดเดอร์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นเงินสดได้ รวดเร็ว จึงทำให้สูญเสียมูลค่าของเงินนั้น ๆ

 

● Market Risk

ความเสี่ยงทางด้านตลาด หมายถึงโอกาสที่ราคาเหรียญจะขยับขึ้นหรือลงขัดต่อความต้องการหรือไม่ตรงกับแผนที่วางไว้

 

● Operational Risk

ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการคือโอกาสที่เทรดเดอร์ไม่สามารถทำการเทรด ฝาก หรือแม้แต่ถอนเงินจาก Exchange หรือ กระเป๋า Wallet ได้

การจัดการความเสี่ยงสำหรับนักเทรดคริปโทเคอร์เรนซี

มีเหล่านักลงทุนผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการเงินได้ให้วิธีการคิดและกุลวิธีในการเทรดมากมายในการจัดการ Portfolio หรือการจำกัด Margin แต่สิ่งสำคัญที่สุดในการเทรดคือ

 

“ไม่นำตัวเองให้เสี่ยงหากไม่สามารถรับความเสี่ยงจากการสูญเสียนั้นได้”

การจัดการความเสี่ยงจึงสามารถแบ่งออกกว้าง ๆ ได้เป็นสี่ประเภท: อัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทน(Risk/Reward Ratio) การหยุดการขาดทุนและทำกำไร(Stop Loss & Take Profit) การปรับขนาดตำแหน่ง(Position Sizing) และการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุน(Rebalancing Portfolio)

 

▸ Risk/Reward Ratio 

Risk คือ ความเสี่ยง

Reward คือ รางวัล

ซึ่งก็คืออัตราส่วนที่ใช้สำหรับการเปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุน ด้วยการจำกัดหรือกระจายความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เรากำหนดไว้ในการเทรด มีคำแนะนำว่าไม่ควรเทรดในอัตราส่วน 1:1 แต่ควรเริ่มจาก 1:1.5 ตามสูตรนี้ R = (ราคาเป้าหมาย – ราคาเข้า) / (ราคาเข้า – Stop Loss) จะช่วยให้คุณรู้ว่าเมื่อใดที่ควรเข้าและเมื่อใดที่ไม่ก่อให้เกิดผลกำไร

 

▸ Stop Loss & Take Profit

คำสั่ง Stop loss คือคำสั่งที่ให้คุณสามารถจัดการกับความเสี่ยง โดยคำสั่ง Stop loss จะทำการยุติ (หยุด) การลงทุนของคุณ เพื่อไม่ให้ขาดทุนของคุณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งราคาที่จะ Stop loss คือราคาที่คุณตัดสินใจแล้วว่า การวิเคราะห์ของคุณมาผิดทาง Stop Loss จะกระทำการหยุดและเริ่มเมื่อราคาลงจนถึงระดับที่เหมาะสม ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยคุณจากการเทรดในช่องทางที่ไม่ได้ผลตอบแทนอย่างเหมาะสม การ Take Profit จะช่วยให้คุณออกจากการเทรดก่อนที่ตลาดจะไม่เป็นดั่งที่หวัง

 

▸ Position Sizing

คือการจัดสัดส่วนในการลงทุน กำหนดความเป็นไปได้ของเหรียญหรือโทเค็นนั้น ๆ และจะเป็นการดีที่ไม่นำเงินทั้งหมดของการลงทุนไปกองไว้ที่เดียว เพราะความผันผวนของตลาดสคริปโตเคอร์เรนซี แม้แต่ช่วงที่ตลาดดูเหมือนจะสมบูรณ์ไปทุกอย่างก็ยังสามารถผันผวนและส่งผลให้เกิดความสูญเสียในการลงทุนได้ กลยุทธ์ต่าง ๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

▸ Rebalancing Portfolio

กระบวนการปรับน้ำหนักของพอร์ตสินทรัพย์เรียกว่าการปรับสมดุลใหม่ การปรับสมดุลทำให้เกิดการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอเป็นประจำ เพื่อรักษาระดับการจัดสรรหรือความเสี่ยงของสินทรัพย์เดิมหรือที่ต้องการ

การจัดการความเสี่ยงของคุณเอง

กลยุทธ์ใน การซื้อและการถือ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่นักลงทุนมือสมัครเล่นอาจให้ความสนใจจึงนิยมใช้เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำ กล่าวคือการซื้อและถือเหรียญไว้เพื่อรอเวลาที่เหมาะสมในสภาพตลาดเพื่อการขายเกร็งกำไร

ถึงแม่ว่าจะเป็นแนวทางที่ดีและไม่สร้างความเสี่ยงให้กับตัวเองจนเกินไปอย่างไแล้วก็ยังเป็นการปฏิบัติที่ดึงรั้งเหล่านักเทรดในการประสบกับกลยุทธ์ที่น่าตื่นเต้นและสร้างผลประโยชน์ได้มากกว่า

 

ลองลงไปเสี่ยงทำสิ่งใหม่ ๆ บริหารพอร์ตโฟลิโอของคุณให้พร้อม แล้วพบกันอีกครั้งในไม่ช้าเกินรอกับกลยุทธ์ที่คุณสามารถใช้ได้ในช่วงของ Decentralized Fund Management บน Definix

บทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน การลงทุนและการซื้อขายทุกครั้งมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาทำความเข้าใจ ใช้วิจารณญาณของตนเองก่อนทำการตัดสินใจลงทุน

Fund management covering rebalancing

Thank you for your interest to invest with Definix!
Check out these channels for the latest update from SIX Network.

Stay tuned with us on these channels.

Napathsorn Unchit
Napathsorn Unchit

Passionate about financial world and is an inverstor too! Giving out news update and blog post every month.
Visit us at SIX Network for more.

Related Posts

เปิดมิติใหม่แห่งการลงทุน “LIQUIDITY”, “DEX”, “DeFi”

เปิดมิติใหม่แห่งการลงทุน “LIQUIDITY”, “DEX”, “DeFi”

Dex and The Liquidity Pool

Table of Contents

เปิดมิติใหม่แห่งการลงทุน “LIQUIDITY”, “DEX”, “DeFi”

การเติบโตของเทคโนโลยี blockchain สามารถจำแนกการแลกเปลี่ยนเหล่านี้ออกเป็นสองประเภท และระบบเหล่านี้ มีข้อดีและข้อเสียในระบบเศรษฐกิจการเงิน เพื่อที่จะทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการแลกเปลี่ยนแบบ Centralized และ Decentralized และต่อไปในบทความนี้จะเล่าถึงคำจำกัดความและความหมายของระบบกัน

ทำไมเราต้องปรับเปลี่ยนระบบทางการเงิน?

 

DeFi เป็นตัวแทนของแพลตฟอร์มทางการเงินที่สร้างขึ้นจากบล็อกเชนสาธารณะ เป็นการปฏิวัติระบบการเงินเดิมอย่างสิ้นเชิง

 

เป็นการรวมระบบการทำงานของโปรโตคอล โทเค็น และ Smart Contract เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทางการเงินให้กับบุคคลทั่วไป โดยส่วนใหญ่แล้วโปรโตคอลไม่จำเป็นต้องทำธุรกรรมผ่านตัวกลางแบบสถาบันการเงินทั่วไป บริการที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในพื้นที่ของ DeFi ที่เปิดใช้งานในปัจจุบัน ได้แก่ การแลกเปลี่ยน การชำระเงิน กองทุน การกู้ยืม

 

Centralized Exchanges (CEXs) เป็นระบบการจัดการทางการเงินที่มีตัวกลางเป็นผู้กำหนดและรวมศูนย์ ในทางกลับกัน Decentralized Exchanges (DEXs) ดำเนินการบนเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ไม่มีตัวกลาง และกระจายอำนาจให้กับผู้ถือครองโดยตรง

 

ด้วยวิธีนี้ DEX จึงไม่ถือเงินและเอกกรรมสิทธิ์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าแต่จะเพียงแค่กำหนดวิธีการซื้อการขายให้ระบบประมวลผลให้ตรงกับขั้นตอนวิธีที่ถูกเขียนไว้บนบล็อกเชน

 

งั้นเรามาทำความรู้จักกันว่าอะไรคือจุดด้อยของ CEX ที่มีส่วนเพิ่มในการพัฒนาให้เกิด DEX กันแน่? จากบทความ Centralized Exchange (CEX) – Old-Fashioned But Still Strong  นี้มีความขัดแย้งกันในตัวเองอยู่ภายในบทความ

การเงินแบบศูนย์กลาง (Centralized Exchange) กำหนดให้ผู้ที่ต้องการลงทุนฝากเงินในกองทุนเพื่อให้สถาบันการเงินเป็นศูนย์กลางที่สามารถจัดการมูลค่ากองเงินในปริมาณที่มีขนาดใหญ่ แต่นั่นจะไม่สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับเจ้าของเงินในการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงินได้เลย ผู้ใช้งานไม่สามารถถอนหรือแม้กระทั่งรับเงินในระบบศูนย์กลางได้ถ้าหากเกิดการโจรกรรมหรือแฮ็กเกิดขึ้น

ในบทความกล่าวต่อว่า การทำธุรกรรมบน DEX นั้นช้ากว่าปกติ แต่บล็อกเชนมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ให้สิทธิ์ในการเข้าถึงแก่เจ้าของและดำเนินการทำงานแบบ Peer-To-Peer

Key differences:

Centralized Exchange

ฝากเงินจริง (debit/credit) หรือคริปโทเคอเรนซี

ไม่มีอำนาจเหนือเงินนั้น

ไม่ได้เป็นเจ้าของ Private Key ของเงินของตนเอง

ทำงานบน Order Book และทำงานผ่านระบบตัวกลางในเครือข่ายรวดเร็วและไม่ล่าช้า

เราต้องแลกมากับการที่เราต้องเชื่อใจว่าธนาคารหรือแพลตฟอร์มนั้นจะไม่ทำเงินเราสูญหาย

Decentralized Exchange

ลงทุนด้วยเงินคริปโทเคอเรนซี

เป็นเจ้าของ Private Key ในคริปโทเคอเรนซีของตนเอง

เป็นผู้ควบคุมเงินด้วยตนเอง

ดำเนินการบนบล็อกเชนและ Smart Contract

จัดการได้ทุกธุรกรรมทางการเงินรวมถึงการฝากเงินด้วย

เรามีอำนาจในการจัดการเงิน ไม่มีตัวกลาง ยืดหยุ่น และตรวจสอบได้

การยืมและการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน (DEX)

 

มาพูดถึงสถานการณ์ในชีวิตจริงเมื่อคุณต้องการที่จะยืมเงินจากใครบางคนที่คุณรู้จัก อย่างแรกคุณต้องรู้ก่อนว่าคน ๆ นั้นมีจำนวนเงินหรือสกุลเงิน เพียงพอและตรงกับความต้องการหรือไม่

 

ถ้าผู้ให้กู้มีเงินไม่เพียงพอหรือสกุลเงินไม่ตรงกับความต้องการของคุณ สถานการณ์แบบนี้เรียกว่า ขาดสภาพคล่อง

 

ในความเป็นจริงคล้ายกับการแลกเปลี่ยนแบบ Decentralized Exchange โดยที่การแลกเปลี่ยนนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “Swap” จึงเป็นที่มาของ Swap Protocol แพลตฟอร์มบน DeFi ตัวอย่าง เช่น Uniswap, PancakeSwap, SushiSwap เป็นต้น

 

แต่เดิม DEX นั้นเกิดขึ้นบน Ethereum Chain อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนทรัพท์สินได้อย่างราบรื่นและผู้ใช้งานสามารถรับค่าตอบแทน หากมีการเพิ่มสภาพคล่องให้กับแต่ละกองอีกด้วย

 

นี่เป็นข้อดีของ Decentralized Exchange ที่ผู้ใช้หมดกังวลกับสภาพคล่องของสกุลเงินที่ต้องการแลกเปลี่ยน เพราะเงินเหล่านั้นจะถูกสะสมไว้ในกองเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะ และเก็บไว้ในพื้นที่ของบล็อกเชนตามแต่ละแพลตฟอร์มเพื่อให้พร้อมต่อการทำธุรกรรม

 

โดยปกติผู้ใช้จะถูกดึงดูดให้เป็นผู้บริการสภาพคล่องพร้อมกับได้รับผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์ เหมือนกับการ“ขาย” สกุลเงินที่ครองอยู่ โดยจะได้รับกำไรกลับคืนมา

 

ในการแลกเปลี่ยนที่อยู่ภายใต้ระบบ Decentralized ผู้ใช้จะสามารถแลกเปลี่ยนคู่เหรียญที่รองรับได้เฉพาะคู่เหรียญในบล็อกเชนนั้น ๆ  (เช่น ERC-20: DAI เปลี่ยนกับ ETH)  ประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนแบบ DeFi คือระบบที่ไม่ใช้ตัวกลางในการถือครองสินทรัพย์ของผู้ใช้งาน

 

สินทรัพย์และสิทธิ์ของผู้ถือครองถูกกำหนดรูปแบบไว้ใน Smart Contract และให้กรรมสิทธิ์กับผู้เป็นเจ้าของสินทรัพย์โดยตรง และคำสั่งบน Smart Contract จะทำงานได้สมบูรณ์แบบหากคำสั่งทั้งหมดตรงตามเงื่อนไขข้อตกลงที่วางไว้ ระบบจะดำเนินการทำธุรกรรมต่าง ๆ ตามข้อตกลงโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าหากผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งไป ธุรกรรมทั้งหมดจะถูกยกเลิกทันที

Yield Farmer ทีจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเป็นผู้เพิ่มสภาพคล่องหรือให้ผลประโยชน์กับระบบนิเวศของ Decentralized application. Yield Farmer ยังได้รับผลประโยชน์เป็นโทเค็นที่กำหนดอยู่บนเชนต้นทางเรียกว่า Governance Token และได้รับอัตราดอกเบี้ยรายปีหรือ APY (Annual Yield Percentage) เป็นกำไร

Summary

 

DEX และ Liquidity Pool มีความเกี่ยวโยงโดยที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ นี่อาจจะเป็นการปฏิวัติการสร้างรายได้แบบ passive income บนระบบ Dcentralized Finance 

 

และในที่สุด SIX Network กำลังจะเปิดตัวโปรเจ็กต์ใหม่ล่าสุดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาบนพื้นที่ DeFi ซึ่งในชั่วโมงนี้ไม่มีใครไม่เคยได้ยิน และ SIX ต้องการเน้นย้ำและส่งเสริมให้ทุกคนเทรดด้วยความเข้าใจและเนื้อหาความรู้ที่ครบถ้วนด้วยความมั่นใจ

 

การมีส่วนร่วมของเราในการสร้างแพลตฟอร์ม DeFi ทั้งสำหรับ Decentralized Exchange หรือ Investment Fund คือภารกิจของเราที่จะช่วยให้นักลงทุนไม่ว่าจะเป็นระดับเริ่มต้นหรือระดับผู้ชำนาญในการซื้อขายบนแพลตฟอร์มโดยไม่ทำให้ยากจนเกินขีดความสามารถและความเข้าใจด้วยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านคริปโตโดยตรง



Come back for more promising announcements and updates.

Stay tuned with us on these channels.

Napathsorn Unchit
Napathsorn Unchit

Passionate about financial world and is an inverstor too! Giving out news update and blog post every month.
Visit us at SIX Network for more.

Related Posts

มารู้จักกับ “หน้าตา” ของ SIX Network ให้มากขึ้นกันเถอะ

มารู้จักกับ “หน้าตา” ของ SIX Network ให้มากขึ้นกันเถอะ

UX-UI designer

"วินจะสามารถเรียนรู้วิธีออกแบบ UX / UI ด้วยตัวเองได้หรือเปล่า?"

"นี่จะเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับวินเลยนะ!"

"จำไว้ว่าการออกแบบนี้จะเป็นหน้าตาของเรา และทุกคนจะต้องจดจำมัน"

หากคุณกำลังตั้งคำถามว่าใครคือคนที่อยู่เบื้องหลังอินเทอร์เฟซของแต่ละแอปพลิเคชั่นใน 

SIX Network ละก็มาทำความรู้จักไปพร้อมกันค่ะ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสนั่งคุยกับบุญวัฒน์ พลเลิศ (วิน) ผู้พัฒนา UX / UI และกราฟิกดีไซน์เนอร์คนเดียวของเราใน SIX Network

 

พี่วินจบการศึกษาด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและเริ่มงานแรกทันทีหลังจากจบการศึกษาในตำแหน่งกราฟิกดีไซน์เนอร์

 

พี่เขามีประสบการณ์อยู่บ้างในการออกแบบอินเทอร์เฟซแอปพลิเคชัน และพี่วินไม่เคยหยุดที่จะ

เรียนรู้และเพิ่มพูลทักษะของตน จึงตอบรับโอกาสในบทบาทที่น่าตื่นเต้นมากขึ้นหลังจากเริ่มงานที่ SIX Network ในปี 2018

ตอบรับโอกาสที่มีความท้าทายให้เผชิญ

 

ไม่เคยเสียใจ ท้อแท้ ทุกอย่างคือบทเรียน

ในช่วงแรกพี่วินได้รับมอบหมายให้ทำพรีเซนท์เพื่อนำเสนอ Project Idea ให้แก่เหล่าพันธมิตรขององค์กร หลังจาก ICO เสร็จสิ้นนี่เป็นช่วงเวลาที่พี่วินถูกผลักดันให้ออกแบบ“ หน้าตา” ของ SIX Network เป็นครั้งแรก

“ผู้สนับสนุนทุนต่างเร่งให้เราเสนอผลงานว่าเรามีอะไร พี่สับสนและไม่มั่นใจการออกแบบที่พี่ทำมา พี่ค่อนข้างระวังในทุกขั้นตอนที่ต้องตัดสิ้นใจ แต่ทุกคนที่นี่ปันความคิดและสนับสนุนให้พี่ดึงทักษะภายในออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่มากๆ”

ผลิตภัณฑ์แรกของ SIX Network คือ SIX Wallet กระเป๋าเงินนี้มีไว้สำหรับเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลโดยเฉพาะสำหรับเหรียญ SIX การออกแบบที่พี่วินทำนั้นเข้าใจง่ายและผู้คนเข้าใจในการทำงานของมันแต่ก็ยังขาดรายละเอียดสำคัญหลายๆส่วนไป

“พี่ได้รับคำแนะนำจากทั้งผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทและ CEO เพื่อให้คำปรึกษาโพรดัคส์ตัวนี้ ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีจนกระทั่งวันเปิดตัวใกล้เข้ามามากขึ้น”

พี่ผู้ร่วมก่อตั้งท่านหนึ่งแนะนำพี่วินศึกษาเว็บไซต์กระเป๋าเงิน (Wallet) ที่มีผู้เข้าใช้สูงในตลาดอย่าง Exodus เพื่อเป็นไอเดียให้นำไปต่อยอด

 

และสิ่งที่พี่วินได้รับมาจากการที่ไปศึกษาสิ่งที่ผู้ใช้งาน wallet ส่วนใหญ่ต้องการนั่นก็คือ กราฟ ซึ่งที่ผู้ใช้ต้องการไม่ใช่แค่ตัวเลขทศนิยมของยอดคงเหลือเท่านั้น แต่กราฟจะทำให้เห็นภาพรวมของเงินที่หมุนเข้า-หมุนออกได้อีกด้วย

 

ในที่สุดการประชุมแบบร่างครั้งแรกสำหรับการออกแบบอินเทอร์เฟซก็มาถึง เนื้องานมีความเข้มข้นขึ้นเมื่อวันเปิดตัวเข้ามาใกล้เรื่อย ๆ คุณวัชระ เอมะวัต (พี่กั๊ก) CEO และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท SIX Network ได้เข้ามาช่วยให้ความเห็นในการออกแบบ

“ใจจริงพี่กังวลมากและไม่ได้คาดหวังมากนักว่าดราฟแรกนี้จะจบลงตรงนี้ มีการแก้ไขและให้ผ่าน แก้ไข ให้ผ่าน อยู่หลายครั้ง"

เติบโตที่ SIX และแตกแขนงแยกกิ่งไปเรื่อยๆ

 

ที่ SIX Network ทุกคนทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแต่ละเฟสและแต่ละโครงการ ซึ่งไอเดียแรกเริ่มของทั้งหมดจะมาจาก CEO ก่อน และจึงส่งต่อให้คนในทีมนำไปพัฒนาเป็นโครงการต่อไป และสิ่งที่ถูกนำมาทำเป็นสิ่งต่อไป คือ Super Application ที่เหมาะกับคนยุคใหม่

เรื่องจริงสนุกๆ : ณ ตอนแรก SIXR ออกเสียงว่า ซิกส์เซอร์

SIXR ในช่วงแรก มีการใส่ไอเดียที่สนุกสนาน แต่ค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่ยากลงไปมากมาย ได้แก่ Live Streaming ช่องสนทนา ตลาดในแอป ระบบโทเค็นบริการทางการเงิน และอื่น ๆ

ไอเดียต้นแบบของ SIXR

“มันก็สนุกมากกับการออกแบบแอปพลิเคชั่นที่ถูกใจคนรุ่นใหม่ที่เป็นกลุ่มคนอายุใกล้เคียงกับตัวพี่ แนวคิดนี้ฟังดูน่าสนุกอยู่แล้วดังนั้นพี่จึงพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้มันออกมาดูดี เข้าถึงได้ไม่ยาก และไม่ Geek ขนาดนั้นอีกต่อไป!”

ในที่สุดแอปพลิเคชัน SIXR ก็ถูกพัฒนาออกมา และมี ฟีเจอร์ใหญ่ทั้งหมด 4 ฟีเจอร์

 

•Wallet ที่สามารถเก็บ SIXR point (Point ที่ไว้ใช้ในตัวแอป) , เก็บ SIX token ได้ด้วย

และในภายหลัง ยังสามารถเก็บคริปโตสกุลอื่นได้อีกด้วย

 

Chat ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็น Community ให้คนสื่อสารกัน (สามารถโอนเหรียญ SIXR ผ่านห้องแชทได้อีกด้วย)

 

• Game ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Lucky Wheel หรือ To the moon ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความสนุกและให้ผู้ที่ชนะในรอบนั้นๆของเกมได้รับเหรียญ SIXR เพื่อนำไปใช้ในส่วนต่างๆได้

 

Marketplace ตลาดที่ทำให้ทุกคนที่มี SIXR นำมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าต่างๆได้

SIXR แอปพลิเคชัน

“คาแรกเตอร์สำหรับแบรนด์ SIXR เป็นสิ่งแรกที่พี่ได้รับมอบหมายให้ออกแบบ และตอนนั้นคิดว่าตัวละครนี้ต้องเกี่ยวข้องกับพันธมิตรของเราคือน้องจอยลดาผู้น่ารัก ซึ่ง Joylada เป็นแอปที่ CEO ของเราอีกท่าน เป็นคนสร้างขึ้นมา ก็เลยคิดว่า เอ๊ะ งั้นดีไซน์ให้คล้าย CEO ของเราดีกว่ามั้ย! แต่มันก็ตลกดีที่ทุกคนดูเหมือนจะคิดว่าพี่ดีไซน์มาจากตัวพี่เอง(ซึ่งจริงๆก็เหมือน) ตลกมาก”

ซึ่งทุกคนก็ชอบในคาแรคเตอร์นี้ และแอปพลิเคชั่นก็เปิดตัวในกลางปี ​​2019 จากนั้นจึงถูกเรียกว่า SIXR (ซิกส์-อาร์) แทน

อยากที่จะเรียนรู้และไปสู่ก้าวต่อไป

 

ฉันถามพี่วินเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของเขาที่ SIX Network อะไรคือแรงจูงใจที่ทำให้เขาอยากมาทำงานทุกวัน

 

พี่วินเผยว่าที่ SIX เขาได้ทำงานแบบใกล้ชิดกับทุกฝ่าย ไม่เว้นแม้กระทั่งกับ CEO ซึ่งหลายๆคนพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน และด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้ทุกคนสนิทใจที่จะทำงานร่วมกันมากขึ้น

“นี่เป็นสิ่งที่พี่ต้องการในชีวิตการทำงานเลยนะและเชื่อว่าใคร ๆ หลายคนก็อยากอยู่สภาพแวดล้อมแบบนี้เหมือนกัน ที่นี่พื้นที่ให้สามารถแสดงความคิดเห็นและรับคำติชมอย่างเต็มที่เพื่อขับเคลื่อนองค์กรต่อไป”

การเติบโตทางจิตวิญญาณควบคู่ไปกับความรู้ที่เพิ่มขึ้นทำให้การทำงานและการใช้ทักษะมีประสิทธิผลมากกว่าความรู้ที่ได้รับจากห้องเรียน ในสถานที่แห่งนี้เราให้ความสำคัญซึ่งกันและกันเพื่อที่เราจะได้เติบโตไปพร้อมกัน

“บทบาทของพี่ไม่ใช่แค่งานกราฟิกอย่างเดียว แต่ได้รับความรู้มากมายจากการเข้าร่วมประชุม ไม่ว่าจะเป็นด้านการดำเนินธุรกิจ ด้านเทคโนโลยี และด้านการตลาดอีกด้วย”

ผู้เขียนถามต่อไปอีกว่ารู้สึกอย่างไรที่ได้เป็น UX / UI Designer และ Graphics & Arts Creator เพียงคนเดียว

“ด้วยความที่มีดีไซน์เนอร์เพียงคนเดียว เลยต้องทำงานกับหลายๆฝ่าย บางทีก็คงเป็นที่ต้องการมากๆเลยมั้ง? (ขำ) ต้องทำงานหลากหลาย ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และรับมือกับงานเหล่านั้นให้เสร็จก่อนกำหนด และตอนนี้การสร้างบล็อกบนเว็บไซต์ โดยใช้ WordPress ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่พี่กำลังทำความคุ้นเคย”

เป็นงานหนักสำหรับพี่วินที่จะต้องทำงานทั้งหมดให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพ ผู้เขียนเองรู้สึกว่าถ้าเป็นตัวเองคงทำไม่ได้เท่าที่พี่วินทำแน่

 

การเติบโตทางจิตวิญญาณเป็นสิ่งสำคัญและช่วยได้มากในการจัดลำดับของงาน ลดความเครียดช่วยให้ผู้คนมีสมาธิ และทำงานได้ดีในสถานการณ์ที่กดดัน

ส่งท้าย

 

สิ่งสำคัญคือทีมที่ดี คนรอบข้างที่ดี ที่พร้อมจะเข้าใจกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนเติบโตและก้าวไปได้เร็วและพี่วินมีประสบการณ์การออกแบบ UX / UI ที่น้อยมาก แต่ได้รับโอกาสที่ดี ได้ร่วมงานกับบริษัท Blockchain ชั้นนำของไทย คือสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝัน แต่มาจากความจริงที่ว่า ไม่ใช่แค่ฝีมือหรือสกิลของคุณเท่านั้น แต่ด้วยความมุ่งมั่น หมั่นหาความรู้ ทักษะเพิ่มเติมอยู่เสมอ จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในสักวัน

 

มาแสดงความคิดเห็นว่าคุณคิดอย่างไรโดย คลิกที่นี่เลย!

Napathsorn Unchit
Napathsorn Unchit

Passionate about financial world and is an inverstor too! Giving out news update and blog post every month.
Visit us at SIX Network for more.

Related Posts

Blockchain Technology Reshaping the Trend on Smart Digital Insurance

Blockchain Technology Reshaping the Trend on Smart Digital Insurance

Cliamdi-Cover

SIX Network with smart digital insurance platform, Claim Di, is revolutionizing the digital economy-oriented blockchain to a decentralized system for peer-to-peer.

Table of Contents

5 Reasons Why Digital Insurance Platform can Benefit from ‘snap’ Application

 

1. New Secure Technology – The emergence of blockchain technology has stirred the trend for digital insurance platforms that want to segregate their service from a democratized system.

 

‘Snap’ powered by SIX Network and Claim Di by Anywhere 2 Go conjoined tomake the insurance system become more secure and transparent.

 

2. Reduce Fraud – Adopting ‘snap’ technology into the digitization system of the insurance sector makes a big difference by reducing any potential scammer, modified images during the process of inspection.

The algorithm used in the blockchain of the ‘snap’ application helps reinforcing traceability and transparency of the visual inspection composition of a photograph captured by phone or camera.

 

On the other hand, Claim Di provides the fastest and easiest insurance claim on the tip of your finger. No need to waste time waiting for surveyors to do an inspection at the roadside accident.

The application will notify the insurance company instantly and store up the data into their central database for further inspection and process.

 

3. Reduce Administrative Cost – Through the automated verification of claim and payment through what known as smart contract. The task and automation process execute more seamless processes and lower the cycle time.

 

4. Applicable to Many Industries – The real use case example of blockchain leverage in its respective industry is proven to be useful for more than doing crypto transactions.

 

Insurance tech firm from Munich, Germany Etherisc has been involving blockchain into its system to create a new era of purchasing and sale of insurance efficiently. One product line that needs a precise calculation of the loss and profit for claimants is Crop Insurance.

With the Crop Insurance Application, users are enabled to select their crop location and product of their field to issue the insurance policy. In the case of calamity damaged, clients get an automated instant payout.

 

Blockchain technology allows Etherisc to check GPS and weather station data based on the location, then cost-effectively calculate the risk and contract terms. Decentralized insurance leveraging blockchain is practical in the real world.

 

Not only is it faster and money saving for the insurer, but eliminates the human error of potential fraud while streamlining the claim payments.

 

5. Advantages High security, transparency, and immutability are the key factors why blockchain is an advanced technology that helps people reach out to stable facts and true to the condition all the time.

 

When an order of any transition is requested on the blockchain, it requires a personal key to take action and to sign acknowledgment. This key is known by one single individual to prevent a tampered attempt.

The collaboration of two giants in its respective sector has signed a Memorandum of Association (MoU) by utilizing blockchain technology into the insurance system.

The Protocal of Blockchain in Digital Insurance

 

Thailand’s InsurTech, Claim Di has adopted the Captured-Locked Image (CLI) from its in-built ‘snap’ application to eliminate the chances of image manipulation.

Allowing for evidence-based imaging at the roadside accident scenes such as location, image surrounding to instantly analyze the details of a photograph.

The services Claim Di provides for clients collaborating with ‘snap’ are:

    • Claim Di – Smart digital insurance application that will alarm the client’s insurance company about the claim directly.

 

    • Police i lert u – Notify the nearest police station if the accident needs law enforcement.

 

    • Me Claim – Suitable when clients need both an insurer and police officer for the accident to occur.

Claim Di platform has been providing full service and conjoined all parties that are involved for any incident claim over 3,000,000 cases annually:

          • 12,500 Claim Di Bike agents in every region throughout Thailand.

          • 50 Trusted Insurance Company

          • 200,000 Police Officers on duty

          • 1,483 Police Stations

          • 24hrs Bangkok Hospital (BDMS) and its affiliated hospitals stand-by

Aims to make the claiming process much smoother, faster, and less vulnerable to fraud where blockchain acts as the indicator for evidence approval and information storage.

 

Reduces time of claiming process. No need to waste time on waiting for the surveyor to come to the accident scene. 

 

The client can make a car inspection by themself if there are small scratches from accidents or no major damage to the vehicle. These picture approval can be used for renewing car insurance policy.

 

Information stored in the system can be sent to the relevant department to improve the scenery of the area to reduce the cause of accidents in the future again known as Predictive Analysis.

Smart Digital Insurance System and Data Management on the Blockchain

 

Besides data storage and management on the blockchain, ‘snap’ can help segregate data ownership and create a database of drivers in the insurers’ portfolio. 

 

To be more specific, the insured or the drivers can permit the platform to use vehicle inspection and claim history as well as the driving profile of the insured. 

The digital insurance provider can use such information to provide reasonable and fair insurance premiums to the insurer

Thailand InsurTech has foreseen the big opportunity to create a digital economy for the community.

Involving blockchain technology will enhance the ability to store useful information and validate any data that is uploaded to the system to mitigate the risk of tampering fraud or cyber scams.

Insight Information from CEO of Claim Di (K.Kittiphan Anuphan)

 

1. How did SIX Network technology improve the facility of Claim Di?

“SIX Network has been providing a module of significant space for information management and storage of the images from the claimant. Assuring the insurers to calculate loss and payout profit to its client precisely.”

 

2. What has Claim Di application brought to their clients?

“We provide a fast and secure application for users to easily understand the use and directly contact the insurance company without no time wasting to wait for the surveyors to come to the accident scene.”

 

3. What is the thing you needed SIX Network to develop in the future to help improve Claim Di application?

“We want our clients to know that the storage system of Claim Di application is on blockchain which will ensure the trustworthiness of the application to the users. Also that we want to make sure that the users can retrieve their own data such as personal profile and images. Now our users think that the app runs their phone camera and is sending the image via the app to the insurer with no database.”

 

4. What is the position of  ‘snap’ on Claim Di application?

“‘snap’ position here is to prove the authenticity of the images taken on real time events by accessing the data based on the weather, condition, sun azimuth, lighting shade, etc. and calculate to find proof to reduce scamming claims for profit. After the calculation the images are stored on the blockchain with no access from anyone to make change.”

 

5. Who is suitable to use Claim Di and in the future do insurance companies still need their surveyor team?

“Claim Di is designed for end-to-end users so that it is fast for every relevant part to take action on the accident claim. Insurance companies still need their surveyor team, inhouse or outsource, to take part of the inspection. This is because when there is a major damage or accident with a litigant, clients could not decide on their own whose fault it was according to law. But we are emphasizing the use of application on minor damage that they can do car inspection via this app without the surveyor, it is easy and fast.”

Summary

The insurance of tomorrow is seamingly becoming true in the nearest future. Many parts of the world is promoting the smart digital insurance trend and foremost the blockchain technology into their basis activity.

 

The route for a digital insurance is a long hual including parties from government and technology stacks to bring about the small and large business behind a common ecosystem interest.

 

Keeping up with us at SIX News & Updates

Napathsorn Unchit
Napathsorn Unchit

Passionate about financial world and is an inverstor too! Giving out news update and blog post every month.
Visit us at SIX Network for more.

Related Posts