fbpx

3 ปัจจัยสำคัญของการทำ Rebalancing Portfolio

3-rebalancing-factors

Table of Contents

“แย่แล้วตลาดลงรีบเทขายดีกว่า” “อ้าวทำไมขายแล้วมันขึ้นเฉย”
“น่าจะขาขึ้นแล้วมั้งช้อนดีกว่า “อ้าวโดนหลอกอีกแล้วลงเฉย”

 

เชื่อว่าเทรดเดอร์ทุกคนน่าจะเคยผ่านประสบการณ์แบบนี้กันมาบ้างแล้ว กับการซื้อแพงขายถูก ยิ่งเล่นเงินในพอร์ตยิ่งลดลง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติมาก เพราะการเทรดด้วยตัวเองนั้นมักมีอารมณ์ของเราเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่นพอราคาลงเราก็รู้สึกกลัวจนเทขาย หรือตอนราคาขึ้นเรามักจะคิดว่ามันขึ้นต่อ ทำให้การเทรดของเราไม่เป็นระบบระเบียบขึ้นอยู่กับอารมณ์เป็นหลัก

 

ซึ่งการจัดการความเสี่ยงนั้นสามารถทำได้ถ้าหากเราเข้าใจหลักการเล็กน้อย และเป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจเอาไว้หากว่ายังคงมีความต้องการที่จะอยู่ในวงการเทรดคริปโตต่อไป

 

การทำ Rebalancing หรือการปรับสมดุลพอร์ตโฟลิโอนั้นคือกลยุทธ์ที่ไม่ยุ่งยากเกินความเข้าใจแต่มีวิธีการใช้งานเพื่อปรับให้เหมาะสมได้จึงต้องใช้ความเข้าใจและความสามารถรับต่อความเสี่ยงนั้น ๆ ได้ขอบแต่ละบุคคลนั้นต่างออกไป เพราะการ Rebalancing จะทำการซื้อ หรือขายให้เองอัตโนมัติเมื่อตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อให้พอร์ตของเรากลับมาสมดุล เช่น ปรับพอร์ตตามเวลา หรือปรับตามอัตราส่วนมูลค่าที่เปลี่ยนไป วิธีนี้นอกจากจะเป็นการจัดการความเสี่ยงที่ดีแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลาในการเทรดให้กับนักลงทุนได้อีกด้วย ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะมาก ๆ กับนักลงทุนที่อยากถือยาว หรือ Value Investment

การ Rebalancing ดียังไงกับพอร์ตของคุณ?

สิ่งสำคัญแรกคือต้องเข้าใจถึงประเภทของการทำ Rebalancing ที่เหมาะสมกับคุณก่อน

 

โดยการทำ Rebalancing จะมีด้วยกันหลัก ๆ อยู่สองประเภทคือ Periodic-based และ Threshold ซึ่งทั้งสองแบบมี action ของการทำการซื้อหรือขายสินทรัพย์เมื่อตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อให้พอร์ตกลับมาสมดุลเช่น ปรับพอร์ตตามเวลา หรือปรับตามอัตราส่วนมูลค่าที่เปลี่ยนไป

Factor 1: “เป็นการจัดการความเสี่ยงไม่ใช่เพราะผลลัพธ์ที่ดีแต่เพื่อการคงสภาพพอร์ตให้อยู่ภายใต้การจัดการที่เจ้าของสามารถรับความเสี่ยงนั้นได้"

มาดูตัวอย่างด้านล่างนี้เพื่อทำความเข้าใจ


โดย Periodic-based เป็นการ Rebalancing ทุก ๆ ช่วงเวลาที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่นเรามี Asset อยู่ 4 เหรียญได้แก่ A B C และ D ในมูลค่าอัตราส่วน 25% เท่า ๆ กันรวมกันเป็น 100% และตั้งให้ Rebalance ทุก ๆ 24 ชั่วโมง

เมื่อเวลาผ่านไปครบ 24 ชั่วโมง มูลค่าของแต่ละ Asset เปลี่ยนไปเป็น A 20% B 30% C 23% และ D 27% สิ่งที่ Rebalancing ทำคือนำ Asset B และ D ไปขาย และนำเงินที่ได้ไปซื้อ Asset A และ C เพื่อให้มูลค่าของทุก Asset กลับมาที่ 25% เท่ากันอีกครั้ง

ในทางกลับกัน Threshold จะเป็นรูปแบบ Rebalancing ตามเปอร์เซ็นของ Asset ที่เปลี่ยนไป หากเรามี Asset อยู่ 4 เหรียญได้แก่ A B C และ D ในมูลค่าอัตราส่วน 25% เท่า ๆ กันรวมกันเป็น 100% และตั้งให้ Rebalance ตาม Threshold +-5%

การใช้วิธี Threshold จะเป็นตัวบอกว่าเท่าไหร่ ถึงจะเป็นว่าควรทำ Rebalance และไม่ใช้เงื่อนไขด้านเวลาว่าเมื่อไหร่อย่างเช่นตัวอย่างแรกของ Periodic-based

การ Rebalancing Portfolio สามารถเอาชนะตลาดได้อย่างไร

เมื่อคุณเริ่มสร้างพอร์ตในการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล คุณควรที่จะมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการกับสินทรัพย์เหล่านี้ รวมถึงหลักการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนในหมวดหมู่หรือ Asset Allocation ที่ประกอบด้วย Governance Token Altcoin Stable Coin เป็นต้น

 

นอกจากนี้การถือครองสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายในมุมของ ความเสี่ยง รูปแบบการลงทุน และลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน คือ Diversification ของพอร์ตจะช่วยยกระดับไม่ให้ขาดทุนในทุกตัวที่ถืออยู่

 

ยกตัวอย่างเช่น BTC หรือ Bitcoin เป็นสินทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับเหมือนเป็นเสาหลักของตลาดคริปโต เสี่ยงปานกลาง หรืออย่าง Doge Coin เป็นสินทรัพย์ที่ผันผวนตามกระแสของตลาดค่อนข้างมาก ความเสี่ยงที่ตามมาก็สูงมากเช่นกัน

ภาพถัดไปด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างสถานการณ์ของการใช้งานในรีพอร์ต Rebalancing Portfolio เรียบเรียงโดย Michael McCarty – ผู้ก่อตั้ง Shrimpy

นี่เป็นหนึงในตัวอย่างของการจัดพอร์ตรูปแบบการกระจายให้สินทรัพย์มีปริมาณเท่า ๆ กันและใช้หลักการทำ Rebalancing จาก 1 ชั่วโมง 1 วัน 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน เปรียบกับการ Hold ไว้เฉย ๆ แสดงผลให้เห็นผลตอบแทนจากการถือไว้ HODL ที่ $40K และ Rebalance ทุก 1 ชั่วโมงผลตอบแทนที่ $123K (ทุนเริ่มต้น $5,000 ระยะเวลา 1 ปี)

สถานการณ์ที่พบได้บ่อยในการทำ Rebalance

⦿ Sideway Movement – สถานการณ์ช่วง Sideway เป็นช่วงที่กินระยะเวลานานที่สุด โดยในช่วงเวลานี้ราคามักมีความผันผวนน้อย และราคาค่อนข้างคงที่ หรือเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ

⦿  Pump and Dump  – Pump and Dump – สถานการณ์ช่วง Pump and Dump เป็นช่วงที่มีการเพิ่มขึ้นของราคาอย่างรวดเร็ว และไม่นานราคาก็ลดลงมากลับมาอยู่จุดเดิม หรือการปั่นราคาเพื่อทุบนั่นเอง

pump & dump opportunity

⦿ Flash Crash and Recover – สถานการณ์ช่วง Flash Crash and Recover เป็นช่วงที่ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว และไม่นานราคาก็กลับขึ้นไปที่จุดเดิม หรือหลุมนั่นเอง

การคาดเดาและหลักความจริงที่สามารถรับมือได้

เราไม่สามารถกำหนดระยะเวลาหรือคาดเดาให้ราคาของแต่ละเหรียญขึ้นหรือลงตามความคิดได้ แต่เราสามารถตั้งรับกับสถานการณ์เพื่อลดระดับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ให้เป็นโอกาสในการเทรด

 

หากนึกไม่ออกว่าสถานการณ์มาในรูปแบบไหน ตัวอย่างที่ใกล้ตัวมากที่พบได้บ่อยที่สุดคือเมื่อคุณไม่รู้ว่าจะหยุดเพื่อทำกำไรเมื่อไหร่นั่นเอง (Stop loss and profit)

 

การชนะตลาดคือการที่เราสามารถสร้างผลกำไรได้ไม่ว่าจะเป็นตลาด คริปโต ฟอเร็กซ์ หรือ หุ้นได้ เป็นที่เข้าใจกันดีว่าเป็นเรื่องยากหากไม่ได้ศึกษาวิธีการหรือกลยุทธ์ที่ใช้งานได้จริง

Factor 2: จึงเป็นที่มาของการปรับสมดุลพอร์ตโฟลิโอโดยการขายกำไรเพื่อซื้อคืนสิ่งที่ขาดทุนภายในพอร์ตหรือก็คือการจัดพอร์ตนั่นเอง  

นักลงทุนส่วนมากอาจมองหาวิธีการชนะตลาดช่องทางอื่นเช่นการทำกำไรในปริมาณมาก ๆ สำหรับสินทรัพย์เดี่ยวเป็นต้น

 

พอร์ตโฟลิโอที่มีความหลากหลายสูงจะนำไปสู่ผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่าพอร์ตโฟลิโอแบบเดี่ยวหากใช้การปรับสมดุลนี้ ดังนั้นสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ไม่ได้รับความนิยมก็สามารถสร้างสมดุลให้กับพอร์ตได้เช่นกัน

Factor 3: จากข้างต้นที่กล่าวมานั้น การเตรียมตัวและการใช้กลยุทธ์เพียงเล็กน้อยจะช่วยในการสร้างพอร์ตโฟลิโอที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของคุณ

และยังเตรียมความพร้อมสำหรับการรับความเสี่ยงต่อสภาพตลาดที่มีความผันผวนได้ดียิ่งขึ้น

ส่งท้าย

1. การจัดการความเสี่ยง

2. โอกาสในการชนะตลาด

3. การกระจ่ายความเสี่ยงเพื่อรองรับสถานการณ์ความผันผวน

เป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ Rebalancing Strategy เพื่อการเทรดคริปโตที่เห็นผลและมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น

Thank you for your interest to invest with Definix!
Check out these channels for the latest update from SIX Network.

Stay tuned with us on these channels.

Napathsorn Unchit
Napathsorn Unchit

Passionate about financial world and is an inverstor too! Giving out news update and blog post every month.
Visit us at SIX Network for more.

Related Posts