fbpx

ข้อมูลพื้นฐานทำความเข้าใจระหว่าง Validators และ Miners

pos-vs-pow

Table of Contents

หากพูดถึงความปลอดภัยของระบบบล็อกเชน นับได้ว่าเป็นความปลอดภัยระดับสูงที่ยากต่อการแฮ็กหรือระบบล่ม แต่เหตุผลที่แท้จริงของระบบความปลอดภัยนี้อยู่ที่เบื้องหลังการทำงานเพราะมีผู้ตรวจทานข้อมูล (Verifiers) และ Verifiers สามารถแจกแจงออกได้สองรูปแบบหลัก ๆ 

ผู้ตรวจทานข้อมูลมักรู้จักกันในชื่อ Validator และ Miner ทั้งสองมีหน้าที่หลักในการตรวจความถูกต้องของข้อมูล เก็บข้อมูลภายใน และดำเนินการอนุญาตธุรกรรมให้เกิดขึ้นภายในบล็อกเชน ถึงอย่างไรก็ตามทั้งสองก็ยังมีข้อแตกต่างกันในขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ข้อแตกต่างระหว่าง Validators และ Miners

Validators เป็นคำใช้เรียกชื่อของผู้ตรวจทานข้อมูลบล็อกที่ใช้ระบบ Proof-of-Stake (PoS) ที่จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบธุรกรรม ลงคะแนนเสียง และรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อการดำเนินการสร้างบล็อกต่อ ๆ ไปเป็นสายหรือที่เรียกว่าเชน

 

หากอยากเป็น Validator มีวิธีง่าย ๆ คือการ “เข้าซื้อ” ตำแหน่งนี้ภายในเชนที่สนใจ หมายความว่าผู้ถือเหรียญของเชนหนึ่ง ๆ จำเป็นต้องนำเหรียญบางส่วนมาล็อกไว้กับเชนตามแต่ข้อกำหนด ซึ่งขบวนการนี้เรียกว่าการ Stake และจะได้รับส่วนแบ่งค่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นภายในเชนตามอัตราส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นจากเหรียญที่นำมา Stake ไว้เป็นค่าตอบแทนจากเชน

 

Miners เป็นอีกกลุ่มผู้ตรวจทานที่ใช้ Proof-of-Work (PoW) ในระบบบล็อกเชนต่างเน็ตเวิร์กที่พบเห็นได้ทั่วไป การดำเนินการตรวจสอบข้อมูลภายในนี้มีหน้าที่ในการแก้ไขสมการที่มีความยากสูงจึงจะสามารถสร้าง Node ที่เชื่อมต่อไปเรื่อย ๆ ภายในเชนนั้น ๆ ต่อไป

 

กลุ่ม Miners ส่วนใหญ่ต้องลงแรงลงทุนซื้อเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์สเป็กต์ความเร็วสูงและใช้พลังงานไฟฟ้าที่สิ้นเปลืองเป็นอย่างมากในการปฏิบัติงาน หรืออีกชื่อที่เคยได้ยินกันว่าการขุด และจากการขุดนี้จึงจะได้รับกำไรจากการแบ่งตามบล็อกตามลำดับ

เบื้องหลังกลไกระบบการตรวจสอบข้อมูลภายในบล็อกเชน

สมการที่เหล่านักขุดจะต้องแก้ไขนี้มีชื่อเรียกว่า Proof-of-Work Problem และเมื่อแก้สมการ cryptography สำเร็จแล้วบล็อกจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่และบล็อกนั้น ๆ จะถูกกระจายอำนาจไปทั่วทั้งเชน จึงเป็นที่มาของคำว่าบล็อกเชน (Blockchain)

 

ซึ่งขบวนการแก้สมการของ miners มีชื่อเรียกทางเทคนิค inverse hashing ซึ่งก็คือการที่ธุรกรรมต่าง ๆ ถูกเรียบเรียงมาอยู่ในบล็อกเดียวกัน จากนั้นนักขุดหรือ miners จะปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจทานข้อมูลและรับส่วนแบ่งไปตามที่กำหนดหากแก้สมการสำเร็จเป็นคนแรก

 

กลไกอีกรูปในชื่อ Proof-of-Stake ที่เหล่า Validators เป็นผู้รับผิดชอบนั้นมีต้นแบบมาจาก Peercoin เป็นเจ้าแรกของตลาดแต่ได้รับความสนใจจริง ๆ เมื่อตอนที่เน็ตเวิร์กอย่าง Ethereum หยิบยกขึ้นมาเพื่อใช้ในการตรวจทานข้อมูลของบล็อก และหากเทียบกับ Proof-of-work แล้วมีกลไกที่ง่ายและเป็นมิตรต่อพลังงานมากกว่าโดยการ Stake เหรียญของเชนนั้น ๆ

 

หน้าที่ปฏิบัติการของ Validator และ Miners มีหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลและอนุญาตการดำเนินการธุรกรรมที่เหมือนกันแต่ส่วนแบ่งจากค่าธรรมเนียมที่จะได้รับขึ้นอยู่กับจำนวนเหรียญที่ Stake ตอนต้น และไม่มีการแข่งขันแบบ Proof-of-Work

บทสรุป

สรุปแล้วไม่ว่ารูปแบบการตรวจธุรกรรมของบล็อกจะเป็น PoW หรือ PoS นั้นมีความสำคัญในระบบนิเวศน์บล็อกเชนในการรักษาความปลอดภัยในเน็ตเวิร์กไม่ว่าการตรวจทานจะมาจาก Validators หรือ Miners ก็ตาม

 

ในปัจจุบันหลาย ๆ บล็อกเชนเน็ตเวิร์กมองเห็นความสำคัญและความคล่องตัวของการใช้ทรัพยากรที่น้อยลงอย่างระบบ Proof-of-Stake

และในโอกาสนี้ทางทีม SIX อยากจะขอเชิญชวนและประชาสัมพันธ์เรื่อง Individual Node Validator ของ SIX Protocol ว่าเราจะเปิดบริการเร็ว ๆ นี้ และระบบ Validators ของเราเป็นระบบ Proof-of-Stake Authority (PoSA) ทางเราจะอัปเดตและให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง Node และผลิตภัณฑ์ของ SIX Protocol ต่อไป

 

Individual Node Validator สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์สำหรับผู้ที่กำลังมองหาโอกาสในการเป็นหนึ่งในผู้ร่วมการตรวจทานบล็อกและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับบล็อกเชนของเรา หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมสามารถเข้าไปศึกษาได้ตามลิ้งก์นี้

>> https://sixprotocol.com/six-validator-nodes

Related Posts

Napathsorn Unchit
Napathsorn Unchit

Prepare to fly higher with new technology and innovation that SIX Network will provide!

Don’t miss out follow us at: